HIV • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ • เพร็พ
ตรวจ HIV เรื่องง่าย เพื่อชีวิตที่มั่นใจ

เพร็พ วันละเม็ดป้องกันเอชไอวี
One Pill a Day, Protects You from HIV
เพร็พ (PrEP) คือยาต้านไวรัสที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อทานเป็นประจำวันละ 1 เม็ด เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน หรือคู่ที่ติดเชื้อเอชไอวี การใช้เพร็พควบคู่กับการตรวจสุขภาพสม่ำเสมอช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้เกือบ 99% เพื่อความปลอดภัยและมั่นใจในทุกความสัมพันธ์ ปรึกษาแพทย์และเริ่มต้นเพร็พได้วันนี้!
Let’s talk about hiv and prevention.
คุณรู้หรือไม่ ?
HIV ไม่ใช่จุดจบของชีวิต
หากติดเชื้อ HIV สามารถใช้ยาต้านไวรัส (ART) เพื่อควบคุมเชื้อและมีชีวิตที่ยืนยาวและสุขภาพดีได้
เพร็พ (PrEP) ป้องกันได้
การทานเพร็พวันละเม็ดช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV ได้เกือบ 99% และเมืองไทยก็มีเพร็พ ฟรีด้วย
การใช้ถุงยางอนามัย
การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอเป็นวิธีป้องกัน HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
การตรวจ HIV เป็นประจำ
การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอช่วยให้รู้สถานะของตัวเองและเริ่มการรักษาได้ทันท่วงทีหากพบเชื้อ
PEP ฉุกเฉินหลังเสี่ยง
หากมีความเสี่ยงติดเชื้อ HIV สามารถใช้ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน (PEP) ภายใน 72 ชั่วโมงเพื่อช่วยลดโอกาสติดเชื้อ
การสื่อสารและให้ความรู้
การเปิดใจพูดคุยกับคู่ของคุณเกี่ยวกับสถานะ HIV และการป้องกันเป็นกุญแจสำคัญในการดูแลสุขภาพร่วมกัน

จาก Viral Load สู่ CD4 กุญแจสำคัญในการรักษาเอชไอวี
เมื่อพูดถึงการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) คำสองคำที่มักจะได้ยินอยู่เสมอคือ Viral Load และ CD4 ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการวางแผนการรักษา และประเมินผลสุขภาพของผู้มีเชื้อเอชไอวี ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาเอชไอวี ตั้งแต่การเริ่มต้นรักษา การติดตามผล ไปจนถึงเป้าหมายของการมีสุขภาพที่แข็งแรง และใช้ชีวิตได้เหมือนคนทั่วไป

Viral Load คืออะไร? ตัวชี้วัดสำคัญของผู้มีเชื้อเอชไอวี
ในการดูแลสุขภาพของผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่มักถูกกล่าวถึงอยู่เสมอ คือ Viral Load หรือเรียกว่า ปริมาณไวรัสในเลือด ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่สะท้อนถึงสถานะสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี และยังเป็นข้อมูลหลักในการวางแผนการรักษาผู้มีเชื้อเอชไอวี เพราะการควบคุม Viral Load ให้อยู่ในระดับต่ำจึงเป็นเป้าหมายหลักของการรักษาเอชไอวี

ช่วงเวลาที่ต้องรู้! Window Period คืออะไร และทำไมต้องตรวจซ้ำ?
Window Period เป็นช่วงเวลาระหว่าง การได้รับเชื้อ จนถึงเวลาที่ร่างกายสามารถสร้างแอนติบอดีหรือสารพันธุกรรมของเชื้อในระดับที่ตรวจพบได้ในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจหาเชื้อ เอชไอวี (HIV) หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) อื่น ๆ หากตรวจเร็วเกินไปในช่วง Window Period อาจทำให้ได้ ผลลบลวง (False Negative) แม้ว่าเชื้อจะมีอยู่ในร่างกายแล้ว แต่การตรวจยังไม่สามารถตรวจพบได้ ซึ่งอาจทำให้ผู้รับการตรวจเข้าใจผิดว่าตนเองปลอดภัย ดังนั้น “การตรวจซ้ำ” ในช่วงเวลาที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญมาก เพื่อให้แน่ใจว่าผลตรวจเป็นจริง และแม่นยำที่สุด